วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

ประเภทของการรำ
          ๑. รำเดี่ยว คือ การรำที่มีผู้แสดงเพียงคนเดียว จุดมุ่งหมายในการรำเดี่ยวเพื่อแสดงศิลปะการร่ายรำ อีกทั้งอวดฝีมือในการร่ายรำ หรือเป็นการแสดงสลับฉากเพื่อรอการจัดฉากหรือตัวละครอื่นที่ยังแต่งตัวไม่เรียบร้อย การรำเดี่ยวบางครั้งก็เป็นการแสดง "เบิกโรง"
          ๒. รำคู่ แบ่งตามเนื้อหา มีสองลักษณะ คือ
รำคู่ในเชิงศิลปะการต่อสู้ โดยไม่มีบทร้อง
รำคู่ในชุดจากวรรณคดี เช่น ชุดหนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา หนุมานจับนางเบญกาย พระรามตามกวาง พระลอตามไก่ รจนาเสี่ยงพวงมาลัย รำประเลง เป็นต้น
          ๓. รำหมู่ โดยปกติการแสดงมากกว่า ๒ คนนั้น เราเรียกว่า "รำหมู่" โดยนับเอาจำนวนคน ส่วนระบำนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการรำหมู่ การรำหมู่ เช่น รำโคม รำพัด รำวง เป็นต้น นอกจากนี้การแสดงพื้นเมืองของชาวบ้านก็ถือว่าเป็นการรำหมู่ได้เช่นกัน เช่น เต้นกำรำเคียว รำกลองยาว
จะสังเกตได้ว่าการรำคู่ หากรำใช้บทเดียวกันจะออกไปในรูป "ระบำ" ถ้าใช้คนละบทมักเรียกว่า "รำ" การรำใช้บทหรือทำบทนั้น หมายถึงการใช้ท่ารำตามบทที่วางไว้ ท่ารำมีความหมายตามบท เช่น รำชุดรจนาเสี่ยงพวงมาลัย ใช้ผู้แสดงออกมารำ ๒ คน แต่ก็รำคนละบท ลีลาของตัวละครก็ต่างกัน หรือรำอาวุธเราก็เรียกว่า "รำ" เพราะตัวละครทั้งสองฝ่ายต่อสู้กันด้วยลีลาที่ต่างกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น